วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาหารอีสานแซ่บๆ เด้อค่ะ

ของแซ่บอีสาน
หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย
ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว
เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา

อาหารปรุงอาหารพื้นเมืองอีสาน

ลาบเป็นอาหารที่นิยมทำกินกันในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงหรือในเทศกาลต่างๆ ส่วนประกอบหลักของลาบหมู คือเนื้อหมูสด นำมาสับให้ละเอียดคลุกเคล้ากับเลือดสดและเครื่องในต้มหั่นซอย ปรุงด้วยเครื่องปรุงอันประกอบด้วยพริกแห้งเผา และเครื่องเทศต่างๆ ลาบกินกับผักสดนานาชนิด โดยเฉพาะประเภทสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมแรง และเรียกผักที่นำมากินกับลาบว่า “ผักกับลาบ” ปัจจุบัน นิยมรับประทานลาบหมู มากกว่าลาบวัว ลาบควาย ลาบที่ยังไม่สุก เรียกว่า ลาบดิบ ถ้าต้องการรับประทานแบบสุก ก็นำไปคั่วกับน้ำมันพืชเล็กน้อย หรือไม่ใส่น้ำมันก็ได้ตามชอบ เรียกว่า ลาบคั่ว


ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด


พล่าเนื้อ เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น


แกงอ่อมเนื้อ นิยมใช้เนื้อวัวและเครื่องในวัว เป็นส่วนผสมหลัก บ้างใช้เนื้อควายและเครื่องในควายเป็นส่วนผสม บ้างใช้แต่เครื่องใน เรียกชื่อตามเนื้อที่นำมาแกง เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในหมู แกงอ่อมเครื่องในควาย


หมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ


แจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก




ก้อยไข่มดแดง คือ นำไข่มดแดงล้างให้สะอาดใส่กระชอน พักให้สะเด็ดน้ำ ใส่อ่างผสม
นำเครื่องปรุงทั้งหมดใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ใส่พริกแห้งป่น ข้าวคั่วป่น หัวหอมซอย ต้นหอมหั่นฝอยชิมรส ตักใส่จานโรยหน้าด้วย ใบสะระแหน่และพริกชี้ฟ้าสด



ของแซ่บอีสาน ประเภทตำ

“ส้มตำ” เป็นอาหารยอดนิยมของคนไทย(อาจจะรวบถึงชาวต่าศอีกมากมาย ที่รู้จักประเทศไทยจากส้มตำ)ในทุกๆภาคในปัจุบันโดยเฉพาะคนอีสานพบได้ทุกสถานที่ โดยเฉพาะตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น ทะเล ภูเขา น้ำตก ฯลฯ จะพบอาหารนี้ได้ทุกซอก ทุกมุม ซึ่งหารับประทานได้ง่ายตามสถานที่ทั่วไป แม้แต่ตามซอกซอย ตามภัตตาคารหรือตามห้างต่างๆ เรียกว่า ส้มตำเป็นอาหารจานโปรดของทุกคนเลยก็ได้ ทำเอาพ่อค้าแม่ขายอาชีพนี้รวยไปตามๆ กัน ส้มตำมีหลายประเภท ได้แก่ ส้มตำไทย, ส้มตำไทยใส่ปู, ส้มตำปูใส่ปลาร้า, ส้มตำลาวใส่มะกอก ส้มตำมักรับประทานกับข้าวเหนียว และแกล้มกับผักชนิดต่างๆ และที่ขาดไม่ค่อยได้เลยคือไก่ย่าง ซึ่งจะพบว่าร้านส้มตำเกือบทุกร้านจะต้องขายไก่ย่างควบคู่กันไปด้วย
“ส้มตำ” เป็นภาษากลางที่ใช้เรียกกันทั่วไป ชาวอีสานเรียก ตำบักหุ่ง หรือตำส้ม ส้มตำของชาวอีสานมีความหลากหลายมาก พืชผัก ผลไม้ ชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาตำรับประทานได้ทั้งสิ้น เช่น ตำมะละกอ ตำถั่วฝักยาว ตำกล้วยดิบ ตำหัวปลี ตำมะยม ตำลูกยอ ตำแตง ตำสับปะรด ตำมะขาม ตำมะม่วง เป็นต้น ซึ่งจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท แต่โดยรวมๆแล้วจะเน้นที่ความมีรสจัดจ้านถึงใจและเน้นที่ความเปรี้ยวนำ




ล้มตำลาว ของชาวอีสานบางครั้งจะใส่ผลมะกอกพื้นบ้าน(เฉพาะฤดูที่มีผลมะกอกพื้นบ้าน) เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติ โดยฝานเป็นชิ้นรวมกับส้มตำมะละกอ ช่วยให้รสชาติอร่อยขึ้น ส้มตำลาวเป็นเมนูอาหารหลักของชาวอีสานรองจากข้าวเหนียว สามารถรับประทานกันได้ทุกวันและทุกมื้อ วัฒนธรรมการกินอาหารอย่างหนึ่งของชาวอีสาน คือ หากมื้อใดมีการทำส้มตำรับประทานก็มักจะเรียกเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงมาร่วมสังสรรค์ รับประทานส้มตำด้วย บางคนถึงกับบอกว่า ทานคนเดียวไม่อร่อย ต้องทานหลายๆ คน หรือแย่งกันทาน เรียกว่าส้มตำรวยเพื่อนก็ไม่ผิดนัก และตามงานบุญต่างๆของชาวอีสานจะขาดส้มตำไม่ได้เลย ถ้าขาดส้มตำอาจจะทำให้งานนั้นกร่อยเลยทีเดียว
บางคนครั้งส้มตำลาวจะอร่อยหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับปลาร้าเป็นสำคัญ ถ้าหากปลาร้าอร่อยมีรสชาติดี ก็จะทำให้ส้มตำลาวครกนั้นมีรสชาติอร่อยไปด้วย ปลาร้าที่ใส่ส้มตำสามารถใส่ได้ทั้งน้ำและตัวปลาร้า หรือบางคนก็ใส่แต่น้ำปลาร้า ใส่เพื่อพอให้มีกลิ่นแล้วแต่คนชอบแต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน ชาวอีสานส่วนใหญ่ยังมีความคิดว่ากินปลาร้าดิบแซ่บกว่าปลาร้าสุก ดังนั้นชาวบ้านตามชนบทมักจะใช้ปลาร้าดิบเป็นส่วนประกอบในส้มตำ ด้วยความคิดเช่นนี้จึงทำให้กลายคนดินปลาร้าแล้วได้พยาธิ(ส่วนใหญ่จะเป็นพยาธิใบไม้ในตับ) ิแถมเข้ามาอยู่ในตัวด้วย ถึงแม้ว่าการใช้เกลือประมาณร้อยละ 30 ของน้ำหมักปลาในการหมัก ก็เป็นเพียงการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้เท่านั้น แต่ยังไม่มีคำยืนยันจากนักวิชาการว่าเกลือสามารถฆ่าพยาธิได้ ดังนั้นควรใช้ปลาร้าที่ต้มสุกแล้วจะปลอดภัยกว่า
นอกจากนี้จากผลการวิจัยขอคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังพบว่าในปลาร้าดิบมีสารที่ยับยั้งการทำงานของวิตามินบีหนึ่ง ซึ่งการที่จะทำให้สารชนิดนี้หมดไปได้มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การทำให้สุกโดยใช้ความร้อน


ครื่องปรุง
มะละกอสับตามยาว
1 ถ้วย (100 กรัม)
มะเขือเทศสีดา
3 ลูก (30 กรัม)
มะกอกสุก
1 ลูก (5 กรัม)
พริกชี้หนูสด
10 เม็ด (15 กรัม)
กระเทียม
10 กลีบ (30 กรัม)
น้ำมะนาว
1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
น้ำปลา
½ ช้อนโต๊ะ (8 กรัม)
น้ำปลาร้าต้มสุก
1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
ผักสด ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ยอดปักบุ้ง ยอดและฝักกระถิน ยอดมะยม ไก่ย่าง แคบหมู





วิธีทำ
1. โขลกกระเทียม พริกขี้หนู พอแตก
2. ใส่มะละกอ มะเขือเทศผ่าซีก ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกัน
3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบาๆ พอเข้ากันชิมตามชอบ รับประทานกับผักสด
สรรพคุณทางยา
1. มะละกอ ผลดิบ ต้มกินเป็นบาบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง
2. มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิว
3. มะกอก รสเปรี้ยว ฝาด หวาน แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
4. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
5. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
6. มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลมน้ำในลูกรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
7. ผักแกล้มต่างๆ ได้แก่
- ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกะเพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
- กะหล่ำปลี รสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ
- ผักบุ้ง รสจืดเย็น ต้มกินใช้เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและสารหนู
- กระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิ
- มะยม ใบต้มกิน เป็นยาแก้ไอ ช่วยดับพิษไข้ บำรุงประสาท ขับเสมหะ บำรุงอาหาร แก้พิษอีสุกอีใส โรคหัดเลือด




รสและสรรพคุณ
1. มะละกอดิบ (ผลยาว) มีรสหวาน ปลูกได้ทั่วไปในทุกภาค ออกผลตลอดปี ในทางยา
- ต้นมะละกอ สรรพคุณ แก้มุตกิต ขับระดูขาว
- ดอกมะละกอ สรรพคุณ ขับประจำเดือน ลดไข้
- ราก รสขมเอียน สรรพคุณ ขับปัสสาวะ
- เม็ดอ่อน สรรพคุณแก้กลากเกลื้อน
- ยางมะละกอ สรรพคุณช่วยกัดแผลรักษาตาปลาและหูด ฆ่าพยาธิหลายชนอด ในการทำอาหาร ยอดอ่อนนำมาดองและรับประทานเป็นผักได้ ส่วนผลดิบปรุงเป็นอาหารหลายชนิด ผลมะละกอดิบหั่นเป็นชิ้น นึ่งหรือต้มให้สุกและรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรืออาจปรุงเป็นผัดมะละกอ โดยนำผลห่ามหั่นฝอยเป็นชิ้นยาวๆ ผัดกับไข่และหมูได้ นอกจากนี้เนื้อมะละกอยังนำมาปรุงเป็นแกงส้ม แกงอ่อมได้
2. มะกอก เมื่อรับประทานทีแรกมีรสเปรี้ยวอมฝาด แต่เมื่อถึงคอแล้วหวานชุ่มคอ อุดมด้วยวิตามินซีใช้เป็นยาฝาดสมาน และแก้โรคลักปิดลักเปิด เปลือกมีกลิ่นหอม ฝาดสมานและเป็นยาเย็นใช้แก้อาการท้องเสีย และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ ระงับอาเจียน ยอดอ่อน ใบอ่อนและผลสุกใช้รับประทานเป็นผัก ยอดอ่อนและใบอ่อนออกมากในฤดูฝนและออกเรื่อยๆ ตลอดปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว ผลสุกรสเปรี้ยว เย็น ฝาด ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน
ในด้านการนำมาทำอาหาร คนไทยทุกภาครู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อน ใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปลาร้า เต้าเจี้ยวหลน ชาวอีสารรับประทานร่วมกับลาบก้อย แจ่วป่น และฝานผลเป็นชิ้นรวมกับส้มตำมะละกอหรือพล่ากุ้งช่วยให้รสชาติอร่อยขึ้น





รสชาติอาหาร
ส้มตำ 1ครก จะมีหลายรสชาติ เช่น เปรี้ยว มัน เค็ม หวาน (น้ำตาลแล้วแต่คนชอบ) ขม เปลือกมะนาวหรือผลมะกอก) อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายสูง โดยเฉพาะเมื่อนำมาแกล้มกินกับผัก คนอีสานนิยมรับประทานกับเส้นขนมจีน ว่ากันว่ารับประทานเข้ากันดีนัก สำหรับคนภาคกลางมักจะรับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น ส้มตำ-ไก่ย่าง, ลาบ, น้ำตก, ข้าวเหนียว เรียกว่าเป็นเมนูชุดใหญ่ โดยมีส้มตำเป็นอาหารหลักเลยทีเดียว ซึ่งก็จะช่วยให้เราได้สารอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพิ่มไปด้วย นอกเหนือจากการกินแต่ผักอย่างเดียว

คุณค่าทางโภชนาการ
ส้มตำลาวใส่มะละกอ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 205 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- น้ำ 417.77 กรัม
- โปรตีน 17 กรัม
- ไขมัน 2.856 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม
- กาก 5.75 กรัม
- ใยอาหาร 2.67 กรัม
- แคลเซียม 163.4 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 190.36 มิลลิกรัม
- เหล็ก 24.27 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 473.9 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 12243 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 0.552 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 0.5 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 5.545 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 162 มิลลิกรัม

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มาดูสไตล์การแต่งบ้าน กันค่ะ ^^

"บ้าน" คือวิมานของเราจริง ๆ นะคะ มีคนเคยกล่าวเอาไว้ว่า ที่ไหนมีคนที่เรารัก ที่นั่นเรียกว่า บ้าน และแน่นอนค่ะ ว่าเมื่อเรามีคนที่เรารักอยู่ที่บ้าน เราก็ต้องอยากตกแต่งบ้านให้น่าอยู่ และสะดวกสบายสำหรับคนที่เรารัก^^




การตกแต่งบ้าน ให้น่าอยู่นั้น มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกันค่ะ เรามาดูกันนะคะ ว่าปัจจัยหรือส่วนประกอบของการตกแต่งบ้านให้น่าอยู่นั้น มีอะไรบ้าง :)


1. ความปลอดภัย ในการจัดตกแต่งบ้านควรคำนึงถึงความปลอดภัยของสมาชิกในบ้าน โดยการเลือกเครื่องตกแต่งบ้านที่ไม่มีมุมแหลม ไม่แตกหักง่าย ไม่เกะกะทางเดิน และควรป้องกันอันตรายที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น เช่น จัดวางตู้ยาไว้ในที่สูง และจัดเก็บสารเคมี ยาฆ่าแมลงในบ้านให้พ้นมือเด็ก รวมทั้งไม่จัดของขวางทางเดิน ไม่ขัดพื้นจนเป็นเงามัน เพราะว่าจะลื่นหกล้มหรือตกบันไดได้ นอกจากนี้ การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าตลอดการเดินสายไฟฟ้า จะต้องอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย



2. ถูกสุขลักษณะและสะอาด ในการจัดบ้านจะต้องจัดให้อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ควรจักว่างสิ่งของปิดบังทิศทางลม และจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มืดทึบ รวมรวมทั้งควรทำความสะอาดเครื่องตกแต่งบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยของคนในบ้าน




3. สะดวกในการใช้สอย ในการจัดตกแต่งบ้านควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยการจัดทางเดินต่างๆ ชองบ้านให้สัมพันธ์กันสามารถเดินไปมาได้สะดวกจัดหาเครื่องที่มีขนาดและจำนวนที่เหมาะสมสมกับเนื้อที่ เลือกเครื่องที่สะดวกในการใช้สร้อยและทำความสะอาดได้ง่าย เช่น เครื่องเรือนที่มีล้อ สามารถเคลื่อนยัายไดัและจัดอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้สะดวกต่อการหยิบใช้ เช่น ไม่ว่างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้บ่อยๆ ในที่สูงเกินมือเอื้อมถึง และจัดอุปกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่ เป็นต้น




4. ความสบาย การจัด ตกแต่งบ้าน ให้ให้มีเครื่องช่วยป้องกันความจ้าของแสงแดด เช่น ม่าน มู่ลี่ มีช่องระบายความร้อน และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถมองเห็นทิวทัศน์ในบ้านหรือนอกบ้านที่ทำให้เกิดความเพลินได้




5..ความมีระเบียบและความสวยงาม ในการจัดตกแต่งเครื่องเรือนควรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งของที่จัดว่างมากเกินไป และสิ่งของที่จัดว่างไม่เป็นระเบียบจะทำให้ความสวยงามลดลงนอกจากนี้นอกจากการตกแต่งบ้าน ควรนำเรื่องการใช้สีซึ่งเป็นหลักการศิลปะมาใช้จะทำให้บ้านสวยงามน่าอยู่ยิ่งชึ้นควรนำไม้ดอกไม้ประดับมาใช้ตกแต่งบ้าน เพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ใส่แจกันดอกไม้สด ไม้ประดับแบบแชวน เป็นต้น




6.ความประหยัด
การจัด ตกแต่งบ้าน ควรคำนึงถึงความประหยัดทั้งเวลา แรงงานและเงินโดยพิจารณาเรื่องดูแลรักษา ทำความสะอาด ราคาสิ่งของที่นำมาตกแต่งบ้าน การใช้เครื่องทุ่นแรงจะทำให้ช่วยประหยัดเวลาและแรง แต่ก่อนการซื้อควรพิจารณาราคากับความคุ้มค่าของการใช้สร้อย นอกจากสิ่งนั้นสิ่งของเครื่องใช ้บางอย่างที่ใช้ในการตกแต่งบ้าน หากเราสามารถประดิษฐ์เองได้ ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวลงได้




ไอเดีย แต่งบ้าน ราคาประหยัด ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดอย่างทุกวันนี้ ค่าน้ำมันก็แพงขึ้นทุกวัน ทำให้ข้าวของอย่างอื่นแพงตามไปด้วย อยากจะหนีความวุ่นวายภายนอกมาพักผ่อนอยู่กับบ้าน แต่ตามประสาคนรักบ้าน อยู่บ้านก็ต้องอยาก แต่งบ้าน เป็นธรรมดา เรามีไอเดียใน การแต่งบ้าน แบบประหยัด ที่จะช่วยทำให้บ้านยังคงเป็นสถานที่พิเศษที่พร้อมจะรองรับคุณในทุกสภาวะเศรษฐกิจประหยัดด้วยไอเดีย1.เปลี่ยนสีบนผนัง การทาสีผนังบ้านใหม่....

สำหรับคนที่กำลังมองหาสไตล์การแต่งบ้าน ก้อนำไปใช้ได้นะคะ